Therapeutic Exercise for Shoulder Pain

การรักษาอาการบาดเจ็บของข้อไหล่ด้วยการออกกำลังกาย

ข้อไหล่เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุด โดยมีการเคลื่อนไหวถึง 8 ทิศทาง และมีช่วงการเคลื่อนไหวมากถึง 180 องศา ในแต่ละวันมีการเคลื่อนไหวข้อไหล่หลากหลายทิศทางจากการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันขณะที่เราหยิบจับสิ่งของ หรือช่วยในการทรงท่าขณะมีการเคลื่อนไหวส่วนอื่นของร่างกาย เช่นการแกว่งแขนขณะเดินหรือวิ่ง จึงพบอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่ได้มาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่พบอาการบาดเจ็บของข้อไหล่ที่เรียกว่าอาการข้อไหล่ติด การเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่นี้ เกิดได้ทั้งทราบสาเหตุ เช่นการเกิดอุบัติเหตุ หรือมีประวัติการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่จากการถูกกระแทกหรือกระชากและเกิดได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เป็นเวลานานจนเกิดอาอาการบาดเจ็บเรื้อรัง ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องหรือต่อเนื่องจนหายบาดเจ็บ หรือเกิดจากการบาดเจ็บบริเวณอื่นที่ส่งผลมาให้มีอาการเจ็บบริเวณหัวไหล่ เช่นอาจเกิดร่วมกับอาการออฟฟิศซินโดรม หรือมีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกคอ หรือเกิดจากการกดทับของเส้นประสาทที่ส่งมายังบริเวณข้อไหล่ และหากมีอาการเจ็บบริเวณข้อไหล่แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องมักเกิดอาการเจ็บเรื้อรังจนส่งผลให้เคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ไม่เต็มช่วงการเคลื่อนไหวได้

Course details

Course Name

Therapeutic Exercise for Shoulder Pain

Period

25 — 26 July 2023

Course language

Thai

Course fee

THB 6,900

Location

Pilates Plus Bangkok, Thailand

Lecturer

  • Asst. Prof. Nongnapas Charoenpanich, Ph.D
  • Phansa Amornmongkol

 

Course times

Weekday

Date

Time

Tuesday

25 July 2023

09:00 – 16:00 

Wednesday

26 July 2023

09:00 – 16:00 

หลักการและเหตุผล

ข้อไหล่เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุด โดยมีการเคลื่อนไหวถึง 8 ทิศทาง และมีช่วงการเคลื่อนไหวมากถึง 180 องศา ในแต่ละวันมีการเคลื่อนไหวข้อไหล่หลากหลายทิศทางจากการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันขณะที่เราหยิบจับสิ่งของ หรือช่วยในการทรงท่าขณะมีการเคลื่อนไหวส่วนอื่นของร่างกาย เช่นการแกว่งแขนขณะเดินหรือวิ่ง จึงพบอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่ได้มาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่พบอาการบาดเจ็บของข้อไหล่ที่เรียกว่าอาการข้อไหล่ติด การเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่นี้ เกิดได้ทั้งทราบสาเหตุ เช่นการเกิดอุบัติเหตุ หรือมีประวัติการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่จากการถูกกระแทกหรือกระชากและเกิดได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เป็นเวลานานจนเกิดอาการบาดเจ็บเรื้อรัง ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องหรือต่อเนื่องจนหายบาดเจ็บ หรือเกิดจากการบาดเจ็บบริเวณอื่นที่ส่งผลมาให้มีอาการเจ็บบริเวณหัวไหล่ เช่นอาจเกิดร่วมกับอาการออฟฟิศซินโดรม หรือมีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกคอ หรือเกิดจากการกดทับของเส้นประสาทที่ส่งมายังบริเวณข้อไหล่ และหากมีอาการเจ็บบริเวณข้อไหล่แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องมักเกิดอาการเจ็บเรื้อรังจนส่งผลให้เคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ไม่เต็มช่วงการเคลื่อนไหวได้

การรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุการเกิดอาการบาดเจ็บ แต่ทั้งนี้ การรักษาด้วยการออกกำลังกายเป็นวิธีการที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงและให้ผลในระยะยาวได้ดีที่สุด เนื่องจากข้อไหล่เป็นข้อต่อที่มีโครงสร้างซับซ้อน มีเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่จำนวนมาก อีกทั้งการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ จะสัมพันธ์กับโครงสร้างส่วนอื่นด้วย เช่นกระดูกสันหลังส่วนคอ ส่วนอก และกระดูกซี่โครง ดังนั้นการรักษาอาการบาดเจ็บของข้อไหล่ควรต้องคำนึงถึงโครงสร้างส่วนอื่นร่วมด้วย การออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บของข้อไหล่ จึงมีเทคนิคการรักษา และมีความเฉพาะเจาะจง รวมทั้งมีเทคนิคเฉพาะที่สามารถใช้กับข้อไหล่ เพื่อให้เกิดผลการรักษาที่ดีที่สุด

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้างของข้อไหล่ กลไกการเคลื่อนไหว และพยาธิสภาพของการบาดเจ็บ
  • เพื่อให้ทราบหลักการออกกำลังกายเพื่อการรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่
  • เพื่อให้ทราบเทคนิคเฉพาะของการออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บของข้อไหล่

กลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย

เทรนเนอร์ หรือ ครูผู้สอนการออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ และผู้สนใจในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และป้องกันอาการบาดเจ็บ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ทราบกายวิภาค กลไกการเคลื่อนไหว และพยาธิสภาพของข้อไหล่ และข้อต่อใกล้เคียงที่สัมพันธ์กับข้อไหล่
  • วิธีการตรวจประเมินอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่ และสามารถให้การรักษาอย่างง่ายได้
  • วิธีการออกกำลังกายเพื่อการรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่ และเทคนิคเฉพาะสำหรับรักษาอาการบาดเจ็บของข้อไหล่
  • ได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้จริง

25 กรกฎาคม 2566

 

 

เวลา

วิทยากร

หัวข้อ

8.15 – 9.00

ลงทะเบียน

9.00 – 10.30

 

ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช

กายวิภาคและกลไกการเคลื่อนไหวของข้อไหล่

10.30 -10.4

Break

11.00-12.00

ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช

การตรวจประเมินอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่

12.00 – 13.00

Lunch

13.00 – 14.15

 

กภ.พรรษา อมรมงคล

การออกกำลังกายเพื่อการรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่ I

14.15 – 14.30

Break

14.30 – 16.00

 

กภ.พรรษา อมรมงคล

การออกกำลังกายเพื่อการรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่ II

 

 

26 กรกฎาคม 2566

 

 

เวลา

วิทยากร

หัวข้อ

8.30 – 9.00

ลงทะเบียน

9.00 – 10.30

ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช

กายวิภาคและกลไกการเคลื่อนไหวของข้อต่อใกล้เคียง ที่มีผลต่อการบาดเจ็บของข้อไหล่

10.30 -10.45

Break

10.45-12.00

ผศ.ดร.นงนภัส เจริญพานิช

การตรวจประเมินเพื่อยืนยันสาเหตุการบาดเจ็บ และการรักษาอย่างง่าย

12.00 -13.00

Lunch

13.00 – 14.15

กภ.พรรษา อมรมงคล

การตรวจประเมินเพื่อยืนยันสาเหตุการบาดเจ็บ และการรักษาอย่างง่าย

14.15 – 14.30

Break

14.30 – 16.00

กภ.พรรษา อมรมงคล

เทคนิคเฉพาะในการรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่ II

หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม